หน่วยงาน | เบอร์โทรศัพท์ |
สำนักงาน | 042-721991 ต่อ 101 |
งานวางแผนงบประมาณและข้อมูลสารสนเทศ | 042-721991 ต่อ 114 |
งานทะเบียน | 042-721991 ต่อ 103 |
วิชาการ | 042-721991 ต่อ 104 |
ห้องพยาบาล | 042-721991 ต่อ 108 |
งานพัสดุและอาคารสถานที่ | 042-721991 ต่อ 117 |
แผนกสามัญ - สัมพันธ์ | 042-721991 ต่อ 110 |
แผนกบัญชี | 042-721991 ต่อ 106 |
แผนกคอมพิวเตอร์ | 042-721991 ต่อ 107 |
แผนกก่อสร้าง | 042-721991 ต่อ 118 |
แผนกช่างโลหะการ | 042-721991 ต่อ 119 |
แผนกเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง | 042-721991 ต่อ 120 |
แผนกช่างยนต์ | 042-721991 ต่อ 121 |
แผนกช่างไฟฟ้า | 042-721991 ต่อ 122 |
แผนกอิเล็กทรอนิกส์ | 042-721991 ต่อ 123 |
ป้อมยาม | 042-721991 ต่อ 124 |
ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ | 093-692-6419 |
งานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา | 042-721991 ต่อ 109 |
งานแนะแนว | 042-721991 ต่อ 105 |
งานวิจัยพัฒนาและมาตรฐานการศึกษา | 042-721991 ต่อ 114 |
งานปกครอง | 042-721991 ต่อ 108 |
งานความร่วมมือและบริการชุมชน | 042-721991 ต่อ 114 |
งานส่งเสริมผลิตผลการค้า | 042-721991 ต่อ 114 |
งานบริหารงานทั่วไป | 042-721991 ต่อ 101 |
งานบุคลากร | 042-721991 ต่อ 101 |
งานการเงิน | 042-721991 ต่อ 101 |
งานบัญชี | 042-721991 ต่อ 102 |
งานวิทยบริการและห้องสมุด | 042-721991 ต่อ 104 |
Fax. โทรสาร | 042-721992 |
วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน | 042-721991 |
สถานศึกษาได้รับจัดสรรงบประมาณ และจัดเก็บเงินรายได้จากผู้เรียน ในการบริหารจัดการศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ ดังนี้
รายการ |
ปี๒๕๖๒ |
|
งวดที่๑ |
งวดที่๒ |
|
๑. งบประมาณแยกเป็น |
๔,๔๖๕,๗๐๐.๐๐ |
๓,๒๖๖,๐๓๓.๙๒ |
ปวช |
๓,๒๔๓,๖๐๐.๐๐ |
๒,๑๒๐,๖๗๐.๒๑ |
ปวส |
๑,๒๒๒,๑๐๐.๐๐ |
๑,๑๔๕,๓๖๓.๗๑ |
๒. รายได้ |
๑,๕๘๙,๕๖๕.๐๐ | ๓,๒๐๒,๗๐๐.๐๐ |
๓. เงินอุดหนุน |
๖,๓๓๖,๓๗๗.๑๔ |
๖,๘๓๔,๗๐๐.๐๐ |
๔. ระยะสั้น |
๔๘๔,๐๐๐.๐๐ |
๑,๘๙๖,๓๐๐.๐๐ |
๕. ระดมทรัพยากร |
๐.๐๐ |
๐.๐๐ |
รวมงบประมาณกับรายได้ |
๖,๐๕๕,๒๖๕.๐๐ | ๖,๔๖๘,๗๓๓.๙๒ |
รวมทั้งหมด |
๑๒,๘๗๕,๖๔๒.๑๔ | ๑๕,๑๙๙,๗๓๓.๙๒ |
รวมงบทั้งสองงวด |
๒๘,๐๗๕,๓๗๖.๐๖ |
รายการ |
ปี๒๕๖๑ |
|
งวดที่๑ |
งวดที่๒ |
|
๑. งบประมาณแยกเป็น |
๔,๒๐๐,๕๐๐.๐๐ | ๓,๓๖๒,๒๒๐.๐๐ |
ปวช |
๒,๙๔๘,๐๐๐.๐๐ | ๒,๖๖๙,๗๒๐.๐๐ |
ปวส |
๑,๒๕๒,๕๐๐.๐๐ |
๖๙๒,๕๐๐.๐๐ |
๒. รายได้ |
๕,๓๕๔,๑๕๐.๐๐ |
๘,๔๙๑,๕๐๐.๐๐ |
๓. เงินอุดหนุน |
๕,๗๕๔,๘๐๐.๐๐ |
๖,๐๓๗,๘๐๐.๐๐ |
๔. ระยะสั้น |
๒๙๐,๕๐๐.๐๐ |
๒๙๐,๕๐๐.๐๐ |
๕. ระดมทรัพยากร |
๐.๐๐ |
๐.๐๐ |
รวมงบประมาณกับรายได้ |
๙,๕๕๔,๖๕๐.๐๐ |
๑๑,๘๕๓,๗๒๐.๐๐ |
รวมทั้งหมด |
๑๕,๕๙๙,๙๕๐.๐๐๐ |
๑๘,๑๘๒,๐๒๐.๐๐ |
รวมงบทั้งสองงวด |
๓๓,๗๘๑,๙๗๐.๐๐ |
รายการ |
ปี๒๕๖๐ |
|
งวดที่๑ |
งวดที่๒ |
|
๑. งบประมาณแยกเป็น |
๔,๖๙๕,๐๐๐.๐๐ |
๕,๒๓๖,๗๐๐.๐๐ |
ปวช |
๓,๑๔๕,๕๐๐.๐๐ |
๔,๑๐๘,๑๐๐.๐๐ |
ปวส |
๑,๕๔๙,๕๐๐.๐๐ |
๑,๑๒๘,๖๐๐.๐๐ |
๒. รายได้ |
๑,๙๙๔,๐๘๐.๐๐ |
๖,๔๓๓,๖๘๕.๓๕ |
๓. เงินอุดหนุน |
๕,๔๓๑,๕๕๐.๐๐ |
๘,๐๐๑,๘๐๐.๐๐ |
๔. ระยะสั้น |
๒๖๘,๕๐๐.๐๐ |
๔๙๗,๕๐๐.๐๐ |
๕. ระดมทรัพยากร |
๐.๐๐ |
๐.๐๐ |
รวมงบประมาณกับรายได้ |
๖,๖๘๙,๐๘๐.๐๐ |
๑๑,๖๗๐,๓๘๕.๓๕ |
รวมทั้งหมด |
๑๒,๓๘๙,๑๓๐.๐๐ |
๒๐,๑๖๙,๖๘๕.๓๕ |
รวมงบทั้งสองงวด |
๓๒,๕๕๘,๘๑๕.๓๕ |
ข้อมูลทั่วไป ของอำเภอสว่างแดนดิน
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสว่างแดนดิน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดสกลนคร ห่างจากจังหวัดสกลนคร 84 กิโลเมตร การคมนาคมขนส่งสะดวกสบายตลอดปี มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอบ้านม่วง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอหนองหาน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี
ข้อมูลพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน
พื้นที่ขอบเขตการปกครองของอำเภอสว่างแดนดิน มีพื้นที่ 606,250 ไร่ ประกอบด้วย 16 ตำบล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูก ร้อยละ 53.64 และที่ราบร้อยละ 44.53 พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นที่นา ร้อยละ 69.64 ซึ่งมีพื้นที่การปลูกข้าวกระจายทุกตำบล รองลงมาคือพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ฟักทอง ข้าวโพด ในปี 2548/2549 ปลูกข้าวนาปีแยกเป็นข้าวเหนียว กข.6 (68%) ข้าวหอมมะลิ 105 (31%) ข้าวเหนียวได้มีผลผลิตเฉลี่ย 381 กก./ไร่ สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของจังหวัด (277 กก. / ไร่) ส่วนข้าวหอมมะลิ 105 ผลผลิตเฉลี่ยของอำเภอ 358 กก./ไร่ สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของจังหวัด (285 ก.ก./ไร่) ประชากร
ประชากรของอำเภอสว่างแดนดิน มีประชากรทั้งสิ้น 147,733 คน แยกเป็น ชาย 73,751 คน หญิง 73,982 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 152 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนหลังคาเรือน 38,534 หลังคาเรือนมีรายได้เฉลี่ย 36,242 บาท/คน/ปี มีกลุ่มเกษตรกร 11 กลุ่ม สมาชิก 1,504 ราย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 105 กลุ่ม สมาชิก 3,126 ราย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 97 กลุ่ม เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 2 กลุ่ม มีผู้มาจดทะเบียนยากจนและยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ 672 ราย
เนื้อที่
เนื้อที่ทั้งหมด 970 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 602,250 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 10 ของพื้นที่จังหวัดสกลนคร สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 170 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสกลนคร ตามถนนสายสกลนคร – อุดรธานี อยู่ห่างจากจังหวัดสกลนคร 84 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 720 กิโลเมตร
การปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอสว่างแดนดินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 179 หมู่บ้าน ได้แก่
1. สว่างแดนดิน (Sawang Dan Din) 26 หมู่บ้าน 9. ค้อใต้ (Kho Tai) 10 หมู่บ้าน
2. คำสะอาด (Kham Sa-at) 12 หมู่บ้าน 10. พันนา (Phan Na) 12 หมู่บ้าน
3. บ้านต้าย (Ban Tai) 7 หมู่บ้าน 11. แวง (Waeng) 10 หมู่บ้าน
4. บงเหนือ (Bong Nuea) 11 หมู่บ้าน 12. ทรายมูล (Sai Mun) 8 หมู่บ้าน
5. โพนสูง (Phon Sung) 9 หมู่บ้าน 13. ตาลโกน (Tan Kon) 11 หมู่บ้าน
6. โคกสี (Khok Si) 13 หมู่บ้าน 14. ตาลเนิ้ง (Tan Noeng) 9 หมู่บ้าน
7. หนองหลวง (Nong Luang) 11 หมู่บ้าน 15. ธาตุทอง (That Thong) 8 หมู่บ้าน
8. บงใต้ (Bong Tai) 13 หมู่บ้าน 16. บ้านถ่อน (Ban Thon) 9 หมู่บ้าน
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน มีลักษณะคล้ายรูปเกือกม้า จุดศูนย์กลาง หรือที่ตั้งหน่วยงานราชการอยู่ตรงกึ่งกลาง การติดต่อคมนาคมกับพื้นที่ต่าง ๆ บางแห่งมีระยะทางไกล เช่น ตำบลตาลเนิ้ง ตำบลตาลโกน ตำบลบงเหนือ ซึ่งห่างจากอำเภอกว่า 30 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเอียง รับน้ำที่ไหลมาจากอำเภอส่องดาว ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรอยู่เสมอโดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลพันนา ตำบลทรายมูล ตำบลธาตุทอง ตำบลแวง ตำบลตาลโกน และตำบลตาลเนิ้ง มีถนนสายหลักลาดยางของกรมทางหลวงพาดผ่านจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิจะร้อนตั้งแต่ 28 – 40 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม ฝนจะตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน และทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ของทุกปี ปริมาณน้ำฝนจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลและผลกระทบจากพายุฝน และพายุดีเปรสชั่นในมหาสมุทรแปซิกฟิคและทะเลจีนใต้ ปริมาณน้ำฝนที่ตกมากที่สุดในรอบ 5 ปี คือ เดือนกรกฎาคม ปี 2547 จำนวน 400 ม.ม.
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 13 องศาเซลเซียส
แหล่งน้ำธรรมชาติ หนองน้ำและอ่างเก็บน้ำ
แหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอสว่างแดนดิน มีทั้งหนองน้ำ และลำห้วยที่สำคัญ ได้แก่
อ่างเก็บน้ำห้วยทราย อยู่ที่หมู่ที่ 12 บ้านโคกสว่าง ตำบลสว่างแดนดิน ใช้น้ำเพื่อการเกษตร และสามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งได้ประมาณ 2,500 ไร่
อ่างหนองพะเนาว์ อยู่บ้านหนองพะเนาว์ ตำบลสว่างแดนดิน ใช้ผลิตน้ำประปา
หนองหลวง อยู่ตำบลหนองหลวง ใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปาและน้ำเพื่อการเกษตร สามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งได้ 1,200 ไร่
บึงโคกสี อยู่หมู่ที่ 1 บ้านโคกสี ตำบลโคกสี มีน้ำตลอดปีใช้เป็นน้ำเพื่อการเกษตรและน้ำประปา
หนองลิ้นช้าง อยู่หมู่ที่ 2 บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลโกน มีน้ำตลอดปี ใช้ผลิตน้ำประปาและน้ำเพื่อการเกษตร
บึงคำอ้อ อยู่หมู่ที่ 10 บ้านพันนาใต้ ตำบลพันนา เป็นน้ำเพื่อการเกษตร สามารถส่งน้ำตามคลองส่งน้ำและปลูกพืชฤดูแล้งได้ประมาณ 900 ไร่
ลำห้วย
ลำห้วย อำเภอสว่างแดนดิน มีลำห้วยที่สำคัญอยู่หลายแห่ง แต่ที่สำคัญมีดังนี้
ลำน้ำสงคราม เป็นลำน้ำขนาดกลางมีบางแห่งกว้างใหญ่ ต้นน้ำเกิดจากบริเวณอำเภอส่องดาว ไหลผ่านพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน บริเวณตำบลบงเหนือ ค้อใต้ คำสะอาด โคกสี แล้วไหลผ่านอำเภอต่าง ๆ ลงสู่แม่น้ำโขง ที่จังหวัดนครพนม ลำน้ำสงคราม เป็นลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญในการเกษตรและความเป็นอยู่ของราษฎรบริเวณใกล้เคียง และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญของอำเภอสว่างแดนดิน
ลำน้ำยาม มีความสำคัญในด้านเกษตรกรรมมาก ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในเขตพื้นที่อำเภอส่องดาว ไหลลงที่ราบ อำเภอสว่างแดนดิน ด้านทิศตะวันออกผ่านตำบลตาลโกน ตำบลพันนา ตำบลธาตุทอง กระจายไปตามลำน้ำสาขาหลายแห่งทิศทางน้ำไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ สภาพโดยทั่วไปมีความตื้นเขินและแห้งขอดเป็นช่วง ๆ หลายพื้นที่ขนาดของลำห้วยไม่สม่ำเสมอบางช่วงกว้างกว่า 20 เมตร
ลำห้วยศาลจอด ต้นน้ำผ่านจากอำเภอส่องดาวใช้ในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ไหลไปทางทิศเหนือผ่านพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน ตอนกลางสภาพตื้นเขินหลายช่วงมีสาขาแตกกระจายมาก ไหลไปลงลำน้ำสงครามที่แนวเขตด้านทิศเหนือของอำเภอ
ลำห้วยปลาหาง ต้นน้ำเกิดจากภูอ่างสอ ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ ไหลเลียบตามแนวเขตด้านทิศตะวันออกไปทางเหนือ ส่วนมากใช้ในการเกษตรมีสภาพตื้นเขิน
เศรษฐกิจ
อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา
ชีพเสริม ได้แก่ ทำไร่ , ค้าขาย , เลี้ยงสัตว์ , ประมง
รายได้เฉลี่ย 36,242 บาท/คน/ปี
เส้นทางคมนาคม
อำเภอสว่างแดนดิน มีเส้นทางติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล สะดวกสบาย มีการก่อสร้างถนนลาดยางเชื่อมต่อในตำบลหลายสาย มีถนนนิตโยผ่านตัวอำเภอ ส่วนถนนต่อเชื่อมในหมู่บ้านจะเป็นถนนลูกรัง การเดินทางจะลำบากในฤดูฝนเท่านั้น
วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดินประกอบไปด้วยอาคารสถานที่ดังต่อไปนี้
1. อาคารเรียนและปฏิบัติการ 4 ชั้น ตามแบบ 3419 จำนวน 1 หลัง
2. อาคารสำนักงานและหอประชุม 1 ชั้น ตามแบบ 35604 จำนวน 1 หลัง
3. อาคารโรงฝึกงาน 1 ชั้น ตามแบบ 35606 จำนวน 2 หลัง
4. บ้านพักผู้อำนวยการ ตามแบบ 35401 จำนวน 1 หลัง
5. บ้านพักภารโรง ตามแบบ กช.010 จำนวน 3 หลัง
6.บ้านพักครูเรือนแถว 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง
7. รั้วคอนกรีตประกอบเหล็กดัด พร้อมป้ายชื่อ จำนวน 700 เมตร
8. เสาธงสูง 18 เมตร ฐานคอนกรีตฉาบหินเกล็ดขัดมัน จำนวน 18 เมตร
9. ประตูรั้ว จำนวน 1 ประตู
10. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 20,000 ตร.ม.
11. สนามบาสเก็ตบอล จำนวน 1 สนาม
13. อาคารโรงฝึกงาน 4 ชั้น ตามแบบ กช.4-1200/40 จำนวน 1 หลัง
14. อาคารอเนกประสงค์ ตามแบบ 44701 จำนวน 1 หลัง
15. อาคารศูนย์วิทยบริการ 4 ชั้น ตามแบบ 46201 จำนวน 1 หลัง
16. อาคารโรงฝึกงานแบบจั่วคู่ ตามแบบ กช.061/46 จำนวน 1 หลัง
17. อาคารเรียนและปฏิบัติการ ตามแบบ วท.33.35 จำนวน 1 หลัง
18. สนามฟุตซอลพร้อมติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐาน จำนวน 1 หลัง
19. โดมครอบสนามกีฬา จำนวน 1 หลัง
784 หมู่ 11 ถ.อุดมธรรมภักดี ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร 47110
โทรศัพท์ 042-721991 โทรสาร 042-721992
อีเมล swicec@swicec.ac.th หรือ www.facebook.com/swicec/
Joomla 2.5 Templates designed by Joomla Web Design